สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิต

หลักสูตร

๑. รหัสและชื่อหลักสูตร
 ภาษาไทย :           หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิต
 ภาษาอังกฤษ :        Bachelor of Science Program in Production Technology

. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) :         วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการผลิต)
ชื่อย่อ (ไทย) :         วท.บ. (เทคโนโลยีการผลิต)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) :     Bachelor of Science (Production Technology)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) :      B.S. (Production Technology)  

. วิชาเอก
     เทคโนโลยีการผลิต

. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
     ไม่น้อยกว่า ๑๒๕ หน่วยกิต 

. รูปแบบของหลักสูตร
     ๕.๑ รูปแบบ
          หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร ๔ ปี
     ๕.๒ ภาษาที่ใช้
          ภาษาไทย
     ๕.๓ การรับเข้าศึกษา
          รับนักศึกษาไทย หรือนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
     ๕.๔ ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
          เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง

     ๕.๕ การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
          ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

๖. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๕  ปรับปรุงจากหลักสูตร เทคโนโลยีอุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๔๘
เปิดสอนใน ภาคการศึกษาที่ ๑  ปี พ.ศ. ๒๕๕๕
     - การประจำคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เห็นชอบหลักสูตร
          ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๕ วันที่ ๒๗ เดือน มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕
     - สภาวิชาการ เห็นชอบหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๕                   
วันที่ ๒๗ เดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
     - สภามหาวิทยาลัย อนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๕๕
วันที่ ๒๕ เดือน เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕

. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
หลักสูตรมีความพร้อมในการเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  ในปีการศึกษา ๒๕๕๗

. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
     ๘.๑ นักออกแบบและเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์
     ๘.๒ ฝ่ายออกแบบและผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
     ๘.๓ ผู้ช่วยวิศวกร
     ๘.๔ บุคลากรด้านงานซ่อมบำรุง
     ๘.๕ นักวางแผนการผลิตและควบคุมการผลิต

. ชื่อ นามสกุล และคุณวุฒิการศึกษาของอาจารย์ 
    ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ชื่อ – สกุล ตำแหน่งทางวิชาการ คุณวุฒิ/สาขาวิชา สำเร็จการศึกษาจาก
มหาวิทยาลัย ปี
๑. นายประสงค์    หน่อแก้ว
วศ.ม.(วิศวกรรมอุตสาหการ)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม
๒๕๕๓
* อาจารย์
ค.อ.บ. (วิศวกรรมอุตสาหการ)
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
วิทยาเขต ภาคพายัพ
๒๕๔๓
๒. นายสมพร    ติ๊บขัด
วศ.ม. (วิศวกรรมอุตสาหการ)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม
๒๕๕๒
* อาจารย์
ค.อ.บ. (วิศวกรรมอุตสาหการ)
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
วิทยาเขต ภาคพายัพ
๒๕๔๓
๓. นายนิวัติ    กิจไพศาลสกุล
วศ.ม. (วิศวกรรมอุตสาหการ)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม
๒๕๕๐
อาจารย์
ค.อ.บ. (วิศวกรรมอุตสาหการ)
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
วิทยาเขต ภาคพายัพ
๒๕๔๖
๔. นายนิลวัฒน์    พัฒนพงษ
กศ.ม. (อุตสาหกรรมศึกษา)
มหาวิทยาลัยนเรศวร
๒๕๓๖
ผู้ช่วยศาสตราจารย
ค.บ. (คณิตศาสตร์)
วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม
๒๕๒๙
๕. นายปฐมพงศ์    พรมมาบุญ
ค.อ.ม. (เครื่องกล)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้า พระนครเหนือ
๒๕๔๙
อาจารย์
ปทส. (เทคนิคช่างยนต์)
สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
๒๕๔๓

* หมายถึง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

๑๐. สถานที่จัดการเรียนการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

๑๑. สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร
        ๑๑ .๑ สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
สาระสำคัญเกี่ยวกับทิศทางและยุทธศาสตร์ตามร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙) ระบุถึงความสำคัญด้านเทคโนโลยีดังนี้ ประเทศที่พัฒนาเทคโนโลยีได้ช้าจะกลายเป็นผู้ซื้อและมีผลิตภาพต่ำ การเข้าถึงเทคโนโลยีที่ไม่เท่าเทียมกันของกลุ่มคนในสังคมจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนา จึงเป็นความท้าทายในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและลดความเหลื่อมล้ำนี้ ดังนั้นการผลิตบุคลากรด้านเทคโนโลยีการผลิตที่มีองค์ความรู้  ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติเฉพาะด้านร่วมกันจะทำให้ประเทศมีศักยภาพในการแข่งขันในด้าน เทคโนโลยีได้
       ๑๑.๒ สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม
สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม ที่พิจารณาในการวางแผนหลักสูตรนั้นคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมของภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดลำปางและจังหวัดใกล้เคียง ที่มีความต้องการผู้มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยี และเป็นนักเทคโนโลยีที่สามารถปฏิบัติงานด้านการผลิต โดยทำหน้าที่ออกแบบ ผลิตผลิตภัณฑ์ ควบคุมกระบวนการผลิตและผู้ปฏิบัติงานช่างฝีมือเฉพาะด้าน รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นนักเทคโนโลยีที่มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อจะช่วยชี้นำและขับเคลื่อนให้การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นไปในรูปแบบที่สอดคล้องและเหมาะสมกับวิถีชีวิตของสังคมไทย

๑๒. ผลกระทบจาก ข้อ ๑๑.๑ และ ๑๑.๒ ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน
       ๑๒.๑ การพัฒนาหลักสูตร
          จากผลกระทบจากสถานการณ์ภายนอก จำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรในเชิงรุกที่มีศักยภาพและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามวิวัฒนาการของเทคโนโลยีทางด้านอุตสาหกรรม สามารถรองรับ    การแข่งขันทางธุรกิจอุตสาหกรรมทั้งในท้องถิ่น และระดับประเทศ โดยการผลิตบุคลากรที่มีความรู้  มีความเข้าใจ เป็นนักเทคโนโลยี และสามารถพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งจำเป็นต้องมีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานในด้านการประสานงานกับส่วนงานต่าง ๆ ได้ทันที และมีศักยภาพสูงในการพัฒนาตนเองให้เข้ากับลักษณะงานทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ รวมถึงความเข้าใจในผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสังคม โดยต้องปฏิบัติตนอย่างมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งเป็นไปตามนโยบายและวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เป็นเลิศทางภูมิปัญญาพัฒนาท้องถิ่นให้ยั่งยืน
       ๑๒.๒ ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน
          ผลกระทบจากสถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม มีต่อพันธกิจมหาวิทยาลัยที่มุ่งสู่ความเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เป็นเลิศทางภูมิปัญญา พัฒนาท้องถิ่นให้ยั่งยืน รวมถึงการผลิตนักเทคโนโลยีที่มีความรู้ความสามารถ ในการวิจัย การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี สู่ท้องถิ่นนั้นย่อมส่งผลต่อพฤติกรรม และค่านิยมของนักศึกษา การพัฒนาหลักสูตรจึงต้องเน้นและส่งเสริมการสร้างนักเทคโนโลยีที่คำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรมทางวิชาชีพ มีความใส่ใจถึงผลกระทบต่อผู้ใช้บัณฑิต สถานประกอบการ และสังคม ภายใต้วัฒนธรรมไทย โดยยังคงคำนึงถึง เทคโนโลยี     การผลิต ด้วยการใช้เทคโนโลยี ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และตอบสนองกับระบบอุตสาหกรรม

๑๓. ความสัมพันธ์กับหลักสูตรอื่นที่เปิดสอนในคณะ/สาขาวิชาอื่นของสถาบัน
       ๑๓.๑ กลุ่มวิชา/รายวิชาในหลักสูตรนี้ที่เปิดสอนโดยคณะ/สาขาวิชา/หลักสูตรอื่น
หลักสูตรนี้มีรายวิชาที่เปิดสอนโดยคณะ/สาขาวิชาอื่น เพื่อให้นักศึกษาในหลักสูตร   วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิต เรียน ดังนี้
           ๑)  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป  ดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด  
           ๒)  หมวดวิชาเฉพาะด้าน สอนโดยอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ยกเว้นรายวิชา ๔๐๙๑๖๑๑ คณิตศาสตร์ช่างอุตสาหกรรม สอนโดยคณาจารย์สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ วิชา ๔๐๑๑๒๐๑ วิทยาศาสตร์ช่างอุตสาหกรรมจัดการเรียนการสอน โดยคณาจารย์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และวิชา ๔๐๒๑๑๐๒ เคมีพื้นฐาน จัดการเรียนการสอน โดยคณาจารย์สาขาวิชาเคมีประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์
           ๓)  หมวดวิชาเลือกเสรี  ดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
     ๑๓.๒ กลุ่มวิชา/รายวิชาในหลักสูตรที่นักศึกษา/นักศึกษาจากคณะ/สาขาวิชา/หลักสูตรอื่นต้องมาเรียน
ไม่มี
     ๑๓.๓ การบริหารจัดการ

           อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรต้องประสานงานกับอาจารย์ผู้สอนจากคณะอื่น ทั้งในด้านเนื้อหาสาระ การจัดการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผล ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ผลการเรียนรู้ ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิต